ปัจจัยในการเลือกแผงโซลาร์ให้เหมาะสมกับคุณ

942 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปัจจัยในการเลือกแผงโซลาร์ให้เหมาะสมกับคุณ

ในปัจจุบันผู้คน รวมถึงธุรกิจ และรัฐบาลจำนวนมากเริ่มกังวลเกี่ยวกับผลกระทบร้ายแรงจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลงทุนที่คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยหันมาพึ่งพาแหล่งพลังงานทางเลือกที่ยั่งยืนจึงได้เพิ่มขึ้นออย่างต่อเนื่อง พลังงานแสงอาทิตย์เป็นหนึ่งในแหล่งพลังงานทางเลือกที่ถูกพูดถึงมากที่สุด จากสถิติพบว่าการเติบโตของระบบพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วโลกมีความสำคัญอย่างมากและแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ภายในสิ้นปี 2562 มีการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ไปแล้วจำนวน 629 กิกกะวัตต์ทั่วโลก และในปี 2563 ประเทศไทยมีกำลังการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ที่ 2,988 เมกะวัตต์ และตั้งเป้าที่จะเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์เป็น 6,000 เมกะวัตต์ภายในปี 2579 ซึ่งหมายความว่าตลาดโซลาร์ของประเทศไทยยังมีพื้นที่ในการเติบโตอีกมากนั่นเองค่ะ

สำหรับผู้ที่สนใจติดตั้งระบบโซลาร์หรือระบบพลังงานแสงอาทิตย์ การเลือกแผงที่เหมาะสมเป็นขั้นตอนสำคัญในการให้ผู้ติดตั้งได้รับประสิทธิภาพสูงสุดและประหยัดต้นทุน โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ ความสวยงาม งบประมาณในการติดตั้ง และประสิทธิภาพในการผลิตไฟ แต่อีกข้อสำคัญที่ลืมไม่ได้เลยนั่นก็คือ ประเภทของแผงโซลาร์เซลล์ที่เลือกใช้ค่ะ

ผู้ผลิตที่มีความน่าเชื่อถือจะขายแผงโซลาร์คุณภาพสูงที่ใช้งานได้ยาวนานหลายสิบปี และช่วยลูกค้าประหยัดค่าไฟได้ต่อเนื่องยาวนาน ในทางกลับกันผู้ผลิตที่เน้นการขายแทนที่จะเป็นการมอบคุณค่าในระยะยาวให้แก่ลูกค้ามักจะนำเสนอแผงที่มีราคาถูกแต่คุณภาพไม่คงทนต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาในภายหลังได้ จึงต้องระมัดระวังในการเลือกผู้ผลิตด้วยนะคะ เราลองมาดูสิ่งที่ต้องคำนึงในการเลือกแผงโซลาร์ให้เหมาะสมกันเลยค่ะ


1. สีของกรอบและแผ่นรองหลัง

ปัจจัยนี้จะเกี่ยวข้องในเรื่องความสวยงามค่ะ แผงโซลาร์ทุกแผงประกอบไปด้วยเซลล์ซิลิคอนที่วางติดกันเป็นชุดติดตั้งอยู่บนแผ่นรองหลัง ซึ่งแผ่นรองหลังนี้มีให้เลือกทั้งที่เป็นสีขาวและสีดำ แผ่นหลังสีดำจะกลมกลืนเข้ากับหลังคาสีเข้มมากกว่า อย่างไรก็ตามสีดำมักจะอมความร้อน อุณหภูมิก็จะสุงกว่าแผงสีขาว ซึ่งอาจทำให้ประสิทธิภาพของแผงลดลง ส่วนสีของกรอบโลหะที่ขอบแผงโซลาร์ในปัจจุบันก็มีให้เลือก 2 สี คือ สีดำและสีเงินอะลูมิเนียมแบบปกติ ลูกค้าสามารถเลือกในแบบที่ชอบได้ แผงที่มีกรอบสีดำอาจให้อารมณ์ที่ดูโมเดิรน์กว่าแต่ก็มีราคาแพงกว่านิดหน่อยขึ้นอยู่กับผู้ขายแต่ละบริษัท อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพของเฟรมทั้งสองนั้นเหมือนกันเลยค่ะ

2. ขนาดของแผงโซลาร์

แผงโซลาร์ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยเซลล์ขนาด 60 เซลล์ และ 72 เซลล์ ซึ่งบ่งบอกถึงจำนวนเซลล์ที่ประกอบอยู่บนแผงโซลาร์ โดยแผง 72 เซลล์จะจะมีความยาวมากกว่าและหนักกว่าแผง 60 เซลล์เล็กน้อย

แผงขนาด 72 เซลล์เป็นที่นิยมในการติดตั้งเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม ในขณะที่แผง 60 เซลล์เป็นที่นิยมในสถานที่ที่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่ เมื่อเทียบกันแล้ว แผง 72 เซลล์จะประหยัดและให้พลังงานมากกว่า ทั้งนี้หากจะเลือกกซื้อแผงโซลาร์ก็ให้ดูขนาดพื้นที่ที่ติดตั้งกันด้วยนะคะ
 
เปรียบเทียบขนาด 60 เซลล์ และ 72 เซลล์

3. ประสิทธิภาพของแผงโซลาร์

ประสิทธิภาพของแผงโซลาร์นั้นประกอบไปด้วยสององค์ประกอบ คือ กระแสไฟที่ผลิตได้ (output rating) และประสิทธิภาพแผง (efficiency) กระแสไฟที่ผลิตได้ คือตัวเลข 3 หลักที่เขียนไว้ที่ด้านหลังของแผง ซึ่งจะแสดงจำนวนวัตต์ที่แผงผลิตได้ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม โดยทั่วไประดับกระแสไฟที่ผลิตได้มีตั้งแต่ 200 ถึง 400 วัตต์ หรือในปัจจุบันผู้ผลิตบางรายก็ผลิตออกมาถึง 450 วัตต์ แต่ก็ตามมาด้วยราคาที่แพงกว่าเช่นกันค่ะ

ส่วนประสิทธิภาพของแผงนั้นเป็นค่าเปอร์เซ็นต์บ่งบอกว่าแผงสามารถผลิตไฟได้กี่วัตต์เมื่อเทียบกับพลังงานแสงที่ตกกระทบพื้นผิวของแผงต่อหนึ่งตารางเมตร ยิ่งแผงโซลาร์มีประสิทธิภาพมากเท่าไร kWh ของกระแสไฟก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

4. การรับประกันคุณภาพ

การรับประกันเมื่อประสิทธิภาพของแผงโซลาร์เริ่มลดลงเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญถึงคุณภาพของแผงโดยรวม แผงโซลาร์ที่มีประสิทธิภาพสูงส่วนใหญ่จะมีการรับประกันการผลิตไฟเป็นเวลา 25 ถึง 30 ปี และยังคงสามารถทำงานได้หลังจากการรับประกันสิ้นสุดลง ยิ่งแผงสามารถผลิตไฟได้นานหลายปีก็จะยิ่งคุ้มค่าการลงทุนมากขึ้นเท่านั้น

ปัจจัยต่างๆที่ควรพิจารณาก่อนการติดตั้ง เช่น การรับประกันแผง ชื่อเสียงของผู้ผลิต ผลตอบรับจากลูกค้าและข้อกำหนดในการทำงานของแผง เพื่อให้ได้แผงโซลาร์ที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง ตรงกับความต้องการและการใช้งานที่ยาวนานที่สุดนั่นเองค่ะ

อ้างอิง Novergysolar


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้