ส่วนประกอบและประเภทของแผงโซลาร์

684 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ส่วนประกอบและประเภทของแผงโซลาร์

ปัจจุบันคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นกว่าแต่ก่อนเนื่องจากมีการพัฒนาประสิทธิภาพแผงโซลาร์เพื่อผลิตไฟฟ้าให้มากขึ้นและปรับปรุงคุณภาพของแผง ส่งผลให้ราคาของแผงโซลาร์ถูกลงอย่างมาก หลายคนสงสัยว่าเซลล์แสงอาทิตย์จะมีประสิทธิภาพและราคาที่ไม่แพงได้อย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาให้ค่ะ

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจถึงวิธีการทำงานของพลังงานแสงอาทิตย์ ชนิดของแผงโซลาร์ และส่วนประกอบต่างๆของแผงกันก่อน ซึ่งในบทความก่อนหน้านี้เราได้อธิบายถึงวิธีการทำงานของพลังงานแสงอาทิตย์ไปแล้ว ในบทความนี้เราจะอธิบายส่วนประกอบใดบ้างที่จำเป็นในการผลิตแผงโซลาร์ และชนิดของแผง ไปดูกันเลยค่ะ

แผงโซลาร์มาจากอะไร

วัสดุที่ใช้ผลิตเซลล์นั้นส่วนใหญ่ทำมาจากซิลิคอนและเซมิคอนดักเตอร์ ส่วนประกอบหลักประกอบไปด้วยขั้วบวก (P-Type) และขั้วลบ (N-Type) นำมาต่อกันทำให้เกิดการไหลของกระแสไฟฟ้าเมื่อได้รับพลังานแสงอาทิตย์ แต่นี้เป็นเพียงส่วนประกอบของโซลาร์เซลล์เท่านั้น หากพูดถึงตัวแผงโซลาร์จะมีองค์ประกอบสำคัญ 6 ส่วนดังนี้

  • เซลล์แสงอาทิตย์
  • กรอบโครงอลูมิเนียม
  • ชั้นกระจกใส
  • วัสดุกันความชื้น
  • แผ่นประกบหลัง
  • ขั้วต่อสายไฟ

Source: Eco sources
 
อธิบายให้เห็นภาพว่า นอกจากตัวโซลาร์เองแล้ว แผงโซลาร์ยังมีกระจกที่ด้านหน้าของแผงเพื่อเพิ่มความแข็งแรงทนทานและป้องกันวัตถุต่างๆมากระทบ ภายใต้กระจกยังมีวัสดุหุ้มฉนวนและแผ่นป้องกันด้านหลังซึ่งช่วยกระจายความร้อนและความชื้นภายในแผง ฉนวนนี้มีความสำคัญมากเนื่องจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ประสิทธิภาพของแผงลดลง ส่งผลให้การผลิตกระแสไฟฟ้าจากแผงโซลาร์ลดลงตามไปด้วย

ชนิดของแผงโซลาร์  

1. แผงโซลาร์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ (Mono-Crystalline)  หรือ Single-Crystalline  เป็นแผงโซลาร์ที่ทำมาจากผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยว (Mono-Silicon) ที่มีความบริสุทธิ์สูง กวนให้ผลึกเกาะกันที่แกนกลาง ทำให้เกิดแท่งทรงกระบอก จากนั้นนำมาตัดให้เป็นสี่เหลี่ยมและลบมุมทั้งสี่ออก ลักษณะของเซลล์แต่ละเซลล์จึงเป็นสี่เหลี่ยมตัดมุมทั้งสี่มุม และมีสีเข้ม  แผงชนิดนี้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด การผลิตแต่ละชิ้นต้องใช้แรงงานมาก ดังนั้นจึงมีราคาแพงกว่าแผงโพลีคริสตัลไลน์


SA

2. แผงโซลาร์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ (Poly-Crystalline)  บางครั้งเรียกว่า มัลติคริสตัลไลน์ (Multi-Crystalline) เป็นแผงโซลาร์ที่ทำมาจากผลึกซิลิคอนเช่นเดียวกัน โดยกระบวนการผลิตจะนำเอาซิลิคอนเหลวมาเทใส่เบ้าที่เป็นสี่เหลี่ยมก่อนจะนำมาตัดเป็นแผ่นบางอีกที จึงทำให้แต่ละเซลล์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สีของแผงจะออกสีน้ำเงิน แผงโซลาร์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์มีประสิทธิภาพน้อยกว่าแบบโมโนคริสตัลไลน์ แต่ขณะเดียวกันก็มีราคาถูกกว่าเช่นกัน
 
SALO®
 
3. แผงโซลาร์ชนิดฟิล์มบางหรืออะมอร์ฟัส (Thin Film) เป็นแผงโซลาร์ที่ทำมาจากอะมอร์ฟัสซิลิคอนซึ่งเป็นซิลิคอนแบบหนึ่ง โดยจะมีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ ไม่มีการตกผลึก นำมาฉาบเป็นชั้นบางๆ ซ้อนกันหลายๆชั้น สามารถโค้งงอได้จึงเรียกโซลาร์ชนิดนี้ว่าฟิล์มบาง (thin film) เมื่อเปรียบเทียบกับแผงอีก 2 ชนิดแล้ว แผงโซลาร์ชนิดฟิล์มบางจะมีประสิทธิภาพน้อยที่สุด
 
 
 
เราสามารถติดตั้งแผงโซลาร์ใช้เองได้หรือไม่

      สำหรับท่านใดที่ต้องการติดตั้งแผงโซลาร์เองนั้นอาจจะต้องพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น การรับประกัน อายุของการผลิตกระแสไฟฟ้า ประสิทธิภาพของแผง และต้นทุนโดยรวม โดยทั่วไปเพื่อความสะดวก หลายท่านมักจะเลือกใช้บริการกับบริษัทรับติดตั้งแผงโซลาร์ไปเลยเนื่องจากบริษัทเหล่านี้จะให้บริการแบบครบวงจรทั้งให้คำปรึกษา สำรวจพื้นที่ติดตั้ง บริการยื่นเอกสารและใบขออนุญาตต่างๆ และบริการหลังการขายอื่นๆเช่น ตรวจเช็คคุณภาพแผงและวงจร หรือทำสะอาดแผง เป็นต้น

อ้างอิง Energysage

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้